อุตสาหกรรมเหล็กไทยยังสดใส – หลังเจอจีนทุ่มตลาดยาวนาน
สถานการณ์เหล็กไทย สดใสหรือไม่ในปี 2567 หลังปี 2566 ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมเหล็กไทยเผชิญกับความยากลำบากพีพีทีวี มีโอกาสพูดคุยกับ คุณธีรยุทธ เลิศศิรรังสรรค์ นายกสมาคมการค้าเหล็กลวดไทย ถึงอนาคตและแนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กของไทยในปี 2567 นี้ว่ายังสดใสอยู่หรือไม่
ร้องรัฐใช้เหล็กลวดในประเทศ หลังเจอเหล็กจากจีนตัดราคาตลาด
ปิดฉาก 59 ปี “โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ” ขาดทุนทุกปีสูงสุดหลักพันล้าน คำพูดจาก เครื่องสล็อต
คำถามสำคัญ เหล็กไทยโดนจีนทุ่มตลาด?
คุณธีรยุทธ บอกว่า การทุ่มราคาส่งออกจากจีนไม่ใช่เรื่องใหม่ และเกิดขึ้นมานานร่วม 10 ปี และเห็นชัดขึ้นเมื่อจีนเริ่มเพิ่มกำลังการผลิต ปีละกว่า 50 ล้านตัน
ขณะที่ความต้องการในประเทศลดลง หลังการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ปี 2008 เมื่อความต้องการสวนทางกับกำลังการผลิต จีนจึงเริ่มส่งออกเหล็กประเภทต่าง ๆ รวมทั้งเหล็กลวด มายังประเทศไทย เริ่มจากระดับ 2 แสนตัน ต่อปี เพิ่มสูงขึ้นเป็นระดับ 1.2-1.3 ล้านตันต่อปี ขณะที่ไทยมีการบริโภคเหล็กลวดราวๆ 2.2-2.4 ล้านตันต่อปี
กลับมาดูที่ประเทศไทย การใช้กำลังการผลิตเหล็กในประเทศเองก็ต่ำเช่นกันในระดับไม่ถึง 30% ของกำลังผลิตอุตสาหกรรมเหล็กไทย ซึ่งปริมาณการผลิตที่ต่ำนั้นส่วนหนึ่งมาจากการใช้สินค้านำเข้าอย่างที่กล่าวไป โดยสัดส่วนการบริโภคในประเทศเหล็กลวดมีการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศเพียง 34% สะท้อนว่ากำลังการผลิตในประเทศนั้นมีอยู่ แต่มีการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน และประเทศต่างๆ มาบิดเบือนโครงสร้างด้านราคา
รวมถึงกรณีเหล็กเส้นอัตราการใช้กำลังการผลิตค่อนข้างต่ำและทรงตัว แม้ว่าจะมีมาตรการห้ามตั้ง ห้ามขยายเหล็กเส้น โดยที่มาตรการนี้กำลังหมดอายุในต้นปีหน้าหลังจากบังคับใช้มาเป็นเวลาเกือบ 5 ปี
มาที่เหล็กลวด พบว่าอัตราการผลิตลดลงจากปีก่อนจาก 30% เหลือเพียง 28% และเช่นกันเป็นผลจากการยกเลิกมาตรการทุ่มตลาดสินค้าเหล็กลวดคาร์บอนต่ำ ทำให้การนำเข้าจากจีนเพิ่มสูงขึ้นในราคาที่ลดลง
นอกจากอุตสาหกรรมภายในจะสูญเสียปริมาณขายแก่สินค้านำเข้าแล้ว ราคาสินค้ายังไม่สะท้อนต้นทุนการผลิตที่แท้จริง อันส่งผลเสียต่อผู้ผลิตในประเทศ
หากย้อนดูในปี 2022 ช่วง 10 เดือน คือ ม.ค.-ต.ค. ราคาเหล็กลวดนำเข้าจากจีนอยู่ที่ 926 ดอลลาร์ต่อตัน แต่ในปี 2023 ช่วงเวลาเดียวกันราคาลงมาอยู่ที่ 663 ดอลลาร์ต่อตัน
อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแต่ประเทศจีนเท่านั้น ยังมีการนำเข้าในราคาทุ่มตลาดจากทั้ง รัสเซีย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดเซีย ไปจนถึงการนำเข้าในลักษณะหลบเลี่ยงมาตรฐาน เช่น การไม่ขอใบอนุญาตนำเข้า ซึ่งใช้ช่องโหว่จากพื้นที่ Free zone
คุณธีรยุทธ ขยายความตรงนี้ว่า Free zone คือพื้นที่พักสินค้าชั่วคราว หลังจากมีลูกค้าที่ต้องการจะส่งสินค้าออกไปต่างประเทศตามคำสั่งซื้อ และสามารถขายในประเทศได้ ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่นำสินค้าเหล็กมาทุ่มตลาดซึ่งกำลังมีแนวโน้มมากขึ้น โดยปัจจุบันมีทั้งจีนและรัสเซียที่ขายเหล็กลวดคาร์บอนต่ำเข้ามาพักใน Free zone
คุณธีรยุทธ มองว่าเป็นวิกฤตการณ์ที่น่าเป็นห่วงซึ่งไม่ใช่เฉพาะแค่ในอุตสาหกรรมเหล็กแต่อาจกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
พีพีทีวี จึงถามต่อว่า แล้วทำไม จีน ถึงขายราคาต่ำได้?
คุณธีรยุทธ บอกว่า เพราะผู้ผลิตจีนเองจะเป็นผู้นำเข้าในปริมาณครั้งละมากๆ สามารถลดต้นทุน และตัดพ่อค้าคนกลางออก แล้วลงมาเป็นผู้ขายเอง ทำให้ประหยัดต้นทุน ราคาขายก็ยิ่งต่ำลงอีก ในขณะที่ปริมาณการขายมากขึ้น ทำให้เกิดผลกำไรมากขึ้นด้วย สะท้อนชัดถึงการเอาเปรียบอุตสาหกรรมเหล็กไทยอย่างมาก
“ข้อมูลจาก สมาพันธ์ผู้ผลิตเหล็กของญี่ปุ่น หรือ JISF (Japan Iron and Steel Federation) พบว่า 40% ของผู้ผลิตเหล็กในประเทศจีน ประสบภาวะขาดทุนใน ปี 2566 จึงยิ่งเป็นตัวกระตุ้นในจีนส่งออกมายังไทยมากขึ้นไปอีก”
นำมาซึ่งการปิดตัวลงของ BISW หรือ บริษัทโรงงานเหล็กกรุงเทพ?
ราวเดือน พฤศจิกายน 2566 บริษัท โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ จำกัด (สำนักงานใหญ่) หรือ BISW ซึ่งมีอายุเกือบ 60 ปี ลงนามในประกาศฉบับที่ 11/2566 แจ้งพนักงานบริษัทเกี่ยวกับการเลิกจ้างพนักงาน
โดยระบุว่า เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งมีผลกระทบต่อบริษัทฯ มาโดยตลอดตามระยะเวลาที่ผ่านมาหลายปี บริษัทฯ ประสบปัญหาขาดทุนสะสมมาโดยตลอด แม้จะพยายามปรับตัวโดยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา เพื่อทำการผลิต แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถทนแบกรับ การขาดทุน สะสมต่อเนื่องได้เพราะสินค้าที่ผลิตใหม่ก็ยังต้องเจอการทุ่มตลาดจากจีน
รวมถึงยังมีอีกหลายบริษัทที่ต้องเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนเจ้าของเป็นต่างชาติ บางส่วนต้องให้เช่าโรงงาน หรือ เลิกกิจการไปในที่สุด และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากการทุ่มราคา การนำเข้าแล้ว ยังมีเรื่องของการตัดราคาทุ่มตลาดระหว่างผู้ผลิตในประเทศด้วยกันเอง ซึ่งเป็นการบิดเบือนกลไกตลาดที่แท้จริงและรุนแรงกว่า
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของเทรนด์รักษ์โลก และการลดการปล่อยคาร์บอนในปริมาณที่สูง ซึ่งเข้ามามีบทบาทต่ออุตสาหกรรมเหล็กอย่างมาก ซึ่งในความเป็นจริง คุณธีรยุทธ บอกว่า ประเทศไทยผลิตเหล็กด้วยเตาหลอมไฟฟ้า (EAF) ซึ่งใช้เศษเหล็กเป็นวัตถุดิบ ซึ่งไม่มีการปล่อยคาร์บอน ไม่ใช่การผลิตจากเตาถลุงหรือการหลอมแร่เหล็ก ซี่งมีการปล่อยคาร์บอนจำนวนมาก
ดังนั้นการใช้ EAF จึงช่วยในเรื่องลดการปล่อยคาร์บอนอยู่แล้ว สิ่งสำคัญคือ ประเทศไทยต้องเริ่มมองถึงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเศษเหล็กที่จะเกิดขึ้น เช่น นโยบายการสงวนเศษเหล็กไว้ใช้ในประเทศเหมือนกับประเทศอื่น ๆ แต่ปัจจุบันพบว่า ความต้องการเศษเหล็กในประเทศมีปริมาณ 6 ล้านตัน โดนมีซัพพลายในประเทศประมาณ 4 ล้านตัน และต้องนำเข้าอีก 2 ล้านตันขณะที่มีการส่งออกเศษเหล็กไปต่างประเทศจำนวน 4 แสนตัน หรือ ประมาณ 10% ของซัพพลายในประเทศ
แนวทางการช่วยเหลือจากภาครัฐ? ต่ออุตสาหกรรมเหล็ก
ดูเหมือนว่า ณ วันนี้ อุตสาหกรรมเหล็กก็ยังคงเผชิญกับสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมา และได้พยายามเสนอแนวทางการช่วยเหลืออุตสาหกรรมเหล็กแก่ภาครัฐ ซึ่งมีกระทรวงที่เกี่ยวข้องทั้ง
กระทรวงพาณิชย์ แก้ปัญหาเรื่องการทุ่มตลาดอย่างเร่งด่วน นโยบายสงวนเศษเหล็กไว้ใช้ในประเทศ
กระทรวงอุตสาหกรรม เช่น กำกับดูแลมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) อย่างเข้มงวด เพราะเกี่ยวข้องกับเรื่องความปลอดภัยจากมาตรฐานของคุณภาพผลิตภัณฑ์ กำกับดูแลโรงงาน ต่ออายุมาตรการห้ามตั้ง ห้ามขยายเหล็กเส้น ขยายขอบเขตมาตรการที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตต่ำกว่า 30%
กระทรวงการคลัง เช่น กำหนดการเก็บภาษีคาร์บอนจากผู้นำเข้าให้เท่าเทียมกับภาษีคาร์บอนที่กำลังพิจารณาออกกฏหมายกับผู้ผลิตในประเทศ เพิ่มสัดส่วนการใช้งานวัตถุดิบในประเทศ
กระทรวงพลังงานและคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ออกมาตรการที่เอื้ออำนวยการเพิ่มอัตราการใช้กำลังผลิต ให้สูงขึ้น ใน ระดับ ที่เหมาะสม เช่น ที่ระดับ 70 % เป็นต้น
และนอกจากนี้ ขอเสนอให้มีการกำหนดให้ซากรถเก่าที่ถูกทิ้งตามที่สาธารณให้เป็นขยะอันตราย ที่ต้องนำไปกำจัด และการกำหนดอายุใช้งานของของรถยนต์ เพื่อนำซากจากรถยนต์ที่หมดอายุมาผลิตเป็นวัตุถุดิบสำหรับการผลิตเหล็ก ตอบโจทย์เรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนและการลดการปล่อยคาร์บอนสู่บรรยากาศตามนโยบายของรัฐบาล
ทั้งหมดจะเกิดผลเป็นรูปธรรมจำเป็น ต้องมีนโยบาย จากรัฐบาล กำหนดทิศทางการดำเนินงานร่วมกัน ไม่เพียงแต่เป็นเพียงการดำเนินของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งเท่านั้น แต่จะต้อง มีการบูรณาการ ทำงานร่วมกัน ในทิศทางเดียวกันของ ทุกกรม กอง สำนักงาน ในกระทรวงต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ทันเวลา เพื่อไม่ให้อุตสาหกรรมเหล็กไทย ตกต่ำไปมากกว่านี้
"9 ของไหว้ตรุษจีน" เช็กอาหารคาว-หวาน-ผลไม้มีอะไรบ้าง พร้อมความหมาย
เช็กสถิติหวยออกย้อนหลัง 15 ปี งวดประจำวันที่ 16 กุมภาพันธ์
ประกาศฉบับที่ 1 เตือนอากาศแปรปรวน ฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรง